ภาคกลาง พื้นที่ราบลุ่มที่มีพื้นที่ทางการเกษตรมากมาย มักจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด มีทั้ง ต้นข้าวในนา ข้าวโพด และพืชจากเกษตรกรรมต่างๆมากมาย ที่ทางภาคกลางได้ทำการเกษตรกรรมเอาไว้ ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ทางเกษตรกรรมแต่ก็มีนิทานพื้นบ้านที่ถูกเล่าสืบต่อกันมา เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงาม สถานที่บางสถานที่ในภาคกลางนั้น มีประวัติมากมายเกิดขึ้นก่อนจะกลายเป็นสถานที่สำคัญ แต่ละชื่อของสถานที่ต่างก็มีประวัติความเป็นมาที่ถูกเล่าเป็นนิทานต่อๆกันมา วันนี้เรามานำเสนอนิทานพื้นบ้านที่สำคัญอีกหนึ่งเรื่องเป็นตำนานของ “เขานมนาง” ที่กว่าจะเป็นเขานมนางได้ มันเกิดเหตุการณ์มากมายกว่าจะเป็นเขานมนางได้
นิทานพื้นบ้านภาคกลางเรื่องหนึ่งที่เป็นที่มาของเขานมนาง และบางนางบวช ที่ในปัจจุบันนี้อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรีและอ่างทอง อยู่ในแถบนั้น ….นางพิมสุราลัย เป็นหญิงสาวสวยงามนางหนึ่งที่มีรูปร่างและหน้าตาสวยงามเป็นที่สุด เป็นที่หมายปองเป็นอย่างมาก ชายหนุ่มที่อาศัยอยู่ในแถวนั้น ต่างก็พยายามที่จะแย่งชิงนางพิมสุราลัยมาเป็นเมีย จนชายหนุ่มทุกคนนั้นต่างก็ทะเลาะวิวาทกันไปหมด
…แม้ว่านางพิมสุราลัยจะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม นางเองก็รู้สึกรำคาญใจที่จะมีคนทะเลาะวิวาทเพื่อแย่งชิงตัวนาง นางจึงได้เดินทางไปอาศัยอยู่คนเดียวในป่า ไม่ยุ่งกับใคร ไม่อยากให้ใครเห็นนางทั้งสิ้น จนนางไม่คิดว่าใครจะสามารถเห็นตัวนางได้อีกต่อไป จะได้ไม่เกิดเรื่องราวขึ้นมาอีก
จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้มีนายพรานป่าคนหนึ่งมีอาคม สามารถแปลงร่างหรือแปลงกายเป็นอะไรได้หลายอย่าง นายพรานคนนี้ชื่อว่าตาลีนนท์ หลังจากนั้นตาลีนนท์เมื่อได้เห็นนางพิมสุราลัยอยู่ในป่า ก็รู้สึกหลงรักขึ้นมาทันที อยากเข้าไปชิดใกล้นางพิมสุราลัย จึงได้แปลงกายเป็นงูเลื้อยเข้าไปยังที่อยู่ของนางพิมสุราลัย นางพิมสุราลัยตกใจตื่นขึ้นมา มองเห็นงูที่รัดตัวอยู่ ก็เกิดรู้สึกกลัวเป็นอย่างมาก จนคว้ามีดพร้าฟันตัวงูจนขาดใจตาย เมื่อนายพรานตาลีนนท์ในร่างงูสิ้นชีวิตลงแล้ว เวทมนตร์ก็ได้เสื่อมลงไป งูกลายร่างเป็นคนไปแล้ว นางพิมสุราลัย ได้เห็นดังนั้นก็เกิดอาการตกใจว่าตัวเองได้ฆ่าคนตายเสียแล้ว นางคิดแค้นในใจตัวเอง คิดไปเรื่อยว่า ความสวยของนางนั้นเป็นเหตุ ทำให้ใครต่อใครจะต้องมาเดือดร้อน และมาเสียชีวิตในที่สุด นางจึงได้เอามีดตัดนมทั้งสองข้างของนางออกไป ขว้างออกไปจนกลายเป็นเขาเขานมนางในปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นนางก็เดินทางไปบวชอยู่บนเขา และบนเขานั้นก็ได้ชื่อว่า “บางนางบวช” จนถึงปัจจุบันนี้